ที่มาและความสำคัญ

คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับสถาบันการศึกษาของรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหน่วยงานกลาง ในการประสานให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ประชาชนต้องการ ได้เข้าร่วมโครงการและได้ทำบันทึกความร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการร่วมกันประสานและดำเนินงานภายใต้ “คลินิกเทคโนโลยี” ซึ่งการมอบหมายให้สถาบันการศึกษาทำหน้าที่เป็นคลินิกเทคโนโลยีของจังหวัดและ ประสานการดำเนินงานร่วมกับผู้บริหารวิทยาศาสตร์จังหวัดระดับสูงโดยสถาบันการศึกษา

คลินิกเทคโนโลยี (Clinic Technology) คือ ความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เพื่อเป็นกลไกในการส่งเสริมให้ประชาชน/ชุมชนในระดับฐานรากซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศมีความรู้ความเข้าใจทางด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มากยิ่งขึ้น โดยการนำ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ของสถาบันการศึกษาไปต่อยอด หรือประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิต รวมทั้งสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งข้อมูลเทคโนโลยี ผ่านช่องทางต่างๆ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ลงนามความร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี โดยอยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันวิจัยและพัฒนา โดยมีผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเป็นผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี ซึ่งมีพันธกิจเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ และถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่มาจากผลงานวิจัยองค์ความรู้ สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ ตลอดจนนวัตกรรม และความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาไทย และเกิดประโยชน์แก่ชุมชนและท้องถิ่น

กิจกรรมในการผลักดันกลไกการดำเนินงานของคลินิกเทคโนโลยี มีกิจกรรมหลักอยู่ 2 กิจกรรม  ดังนี้

โครงการคลินิกโครงการ วท.

 

 

 

 

 

 

 

โครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หมู่บ้านแม่ข่าย วท.) เริ่มดำเนินโครงการ เมื่อปี พ.ศ.2552 ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์การถ่ายทอดเทคโนโลยี ของ วท. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้หมู่บ้าน/ชุมชน นำองค์ความรู้ด้าน วทน. ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพหลัก จนเป็นแบบอย่างให้แก่หมู่บ้าน/ชุมชนอื่นๆ โดยการดำเนินโครงการฯ มีการประสานความร่วมมือใน 4 ภาคส่วน คือ ภาคราชการและท้องถิ่น ภาควิชาการ ภาคประชาชน และภาคเอกชน รวมทั้งมีการส่งต่อบริการแบบครบวงจรตามแนวทางห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value chain) ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ มีเป้าหมายเพื่อการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ (Value added) การลดค่าใช้จ่าย การขยายโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำของชุมชนในชนบท โดยกำหนดเป้าหมายของโครงการฯ ให้มีหมู่บ้านแม่ข่าย วท. 1 อำเภอ 1 หมู่บ้านแม่ข่าย ครอบคลุมทั้ง 878 อำเภอ ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานประมาณ 15 ปี ( พ.ศ.2553 – พ.ศ. 2568)

* นิยาม หมู่บ้านแม่ข่าย วท. “ เป็นหมู่บ้านที่นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไป พัฒนา ต่อยอดและประยุกต์ใช้ประโยชน์ให้เกิดอาชีพที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและอาชีพอื่น ๆ ในชุมชน เพื่อสร้างงาน สร้างเงิน สร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และ ดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จนสามารถเป็นต้นแบบสำหรับชุมชนอื่น ๆ ”

กระบวนการพัฒนาหมู่บ้าน วท. เพื่อยกระดับเป็นหมู่บ้านแม่ข่าย วท. มีการกำหนดกรอบระยะเวลาการพัฒนาใน 3 ปี มีการบ่มเพาะองค์ความรู้ (Knowledge) สร้างทักษะความชำนาญ (Skill) ภายใต้เทคโนโลยีที่เหมาะสม(Appropriate Technology) ให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต (Productivity) การพัฒนาผลิตภัณฑ์(Product development) การบริหารจัดการ(Management) การพัฒนาแบบครบวงจรห่วงโซ่แห่งคุณค่า(Value chain) ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์(Value added) รวมถึงการสร้างพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ การสังเกต การระบุปัญหา การทดลอง การจดบันทึก การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลและการสรุปผล เพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติ (Attitude) ที่ดีต่อการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ไปใช้ประโยชน์ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา) มาปรับใช้ ตามความเหมาะสมของแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ควบคู่ไปกับฐานความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สอดคล้องไปด้วยกัน เพื่อผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาที่ยั่งยืน

กิจกรรมหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการบริหารจัดการในรูปแบบคณะกรรมการ และคณะทำงาน ดังแสดงในแผนภาพ

 

 

 

 

 

 

 

 

คูปองวิทย์เพื่อโอทอป (STI Coupon for OTOP Upgrade) หมายถึง การให้บริการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ พัฒนาและออกแบบกระบวนการผลิต พัฒนาระบบมาตรฐาน พัฒนาและออกแบบเครื่องจักร พัฒนาวัตถุดิบต้นน้าแก่ผู้ประกอบการกลุ่ม Start Up กลุ่ม Existing และกลุ่ม Growth ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Science Technology and Innovation : STI) โดยหน่วยงานสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • ผู้ประกอบการกลุ่ม Start Up หมายถึง ประชาชนทั่วไป วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ที่ยังไม่ขึ นทะเบียน OTOP ที่ต้องการน้าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปใช้ในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้เกิดธุรกิจใหม่
  • ผู้ประกอบการกลุ่ม Existing หมายถึง กลุ่มผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ OTOP ที่ต้องการน้าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปใช้ในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน
  • ผู้ประกอบการกลุ่ม Growth หมายถึง กลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นบริษัท และห้างหุ้นส่วนจ้ากัด ที่มีการผลิตและจ้าหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน/ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น /ผลิตภัณฑ์ OTOP ได้มีการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ OTOP ที่ต้องการน้าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปใช้ในการต่อยอด พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถแข่งขันทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ศูนย์บริการข้อมูล คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี